14.8.51

Une civilisation sauvée des eaux

Deux cités antiques englouties sous les eaux de la Méditerranée et datant probablement du VIe siècle avant J.-C., ont été découvertes le 3 juin 2000 près d’Alexandrie, en Egypte, par l’équipe du Français Franck Goddio.
C’est dans la baie d’Aboukir que pas moins de trente-cinq archéologues, dont huit de nationalité égyptienne, et des plongeurs, ont fait ressurgir des eaux les villes d’Héraklion et de Ménouthis. En parfait état de conservation, ces deux cités pourraient recéler des informations sur les modes de vie des populations au temps des Pharaons. En effet, Héraklion, riche ville douanière, représentait une porte maritime pour l’Egypte ancienne et Ménouhis était considérée comme une cité sacrée vouée à la déesse Isis.
Menées par l’Institut européen d’archéologie sous-marine de Franck Goddio [
1], ces recherches ont pu bénéficier de moyens logistiques et techniques extrêmement puissants mis à disposition par le Commissariat à l’énergie atomique français (CEA).
Après plus d’un millénaire passé au fond des eaux, à environ six mètres de profondeur, des sphinx, des têtes de pharaons, une extraordinaire statue d’Isis, des céramiques et des monnaies, des stèles gravées de hiéroglyphes, des temples et des habitations, ont ainsi été tirés de l’oubli pour livrer leurs secrets sur des villes, dont l’existence n’était attestée que par des textes anciens.
Placées sous la direction des autorités archéologiques égyptiennes, ces fouilles pourraient bien ouvrir la voie à de nouvelles explorations.

6.7.51

เตรียมความพร้อมก่อนAdmission

นำร่อง GAT ก่อนแอดมิด 53
สทศ.ร่วมกับ อธิการบดี มน. และประธานแอดมิสชั่นส์ฟอรั่มของ ทปอ. หารือเกี่ยวกับการนำแบบทดสอบความถนัดทั่ว ไป หรือ General Aptitude Test (GAT) ไปใช้ในการสอบคัดเลือกนิสิตในระบบรับตรง ประจำปีการศึกษา 2551 โดยจะเริ่มใช้ที่มน.เป็น แห่งแรกในเดือนตุลาคมนี้ และได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า ให้ สทศ.เป็นผู้ดำเนินการผลิตข้อสอบ พิมพ์ข้อสอบ และตรวจข้อสอบ ส่วน มน.จะเป็นผู้ ดำเนินการจัดสอบ
"ในแบบทดสอบ GAT จะเป็น ข้อสอบปรนัย 200 ข้อ จำแนกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ความสามารถในการเขียนเชิงวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้โจทย์ปัญหา และความสามารถในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ คาดว่าจะผลิตข้อสอบ GAT แล้วเสร็จในเดือน กันยายนนี้ ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆ หากประสงค์จะร่วมนำร่องใช้แบบทดสอบ GAT ด้วย ทาง สทศ.ก็ยินดีให้ความร่วมมือจัดพิมพ์เพิ่มให้"
การนำร่องสอบ GAT ดังกล่าว ถือเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจะนำข้อสอบ GAT ไปใช้เป็นองค์ประกอบ หนึ่งในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์ ในปีการศึกษา 2553 พร้อม กันนั้น สทศ.จะพัฒนาแบบทดสอบความถนัดเฉพาะวิชาชีพควบคู่กันไปด้วย เพื่อเตรียม ความพร้อมนำไปใช้ในปี 2553 ด้วย ซึ่งเบื้องต้นจำแนกออกได้เป็น 11 วิชาชีพ
อาจมีมหาวิทยาลัย รัฐอีก 3 แห่งที่จะร่วมนำร่องใช้แบบทดสอบ GAT ในปี 2551 ด้วย โดยการรับในระบบ รับตรงประมาณร้อยละ 50-70 ของ มน.ในปีการศึกษา 2551 จะคัดเลือก โดยใช้องค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ผลคะแนนเฉลี่ย สะสมในชั้น ม.ปลาย หรือจีพีเอเอ็กซ์ (GPAX) ร้อยละ 20 ผลสอบแบบทดสอบของ สทศ. ใน 5 วิชา ร้อยละ 40 และผลสอบ GAT ร้อยละ 40

8.6.51

Yann Arthus-Bertrand in Bangkok


นิทรรศการ Earth from Above นับว่าเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒน ธรรมระดับโลก มีผู้ชมมาแล้วมากกว่า 120 ล้านคน จาก 110 เมืองทั่ว โลกนับตั้งแต่การจัดนิทรรศการครั้งแรก ซึ่งจัดตามแนวรั้วของสวน Luxembourg กรุงปารีส เมื่อปี 2543 และหนังสือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว แปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 24 ภาษาด้วยกัน มียอดขายมากกว่า 3 ล้านเล่ม ห้างสรรพสินค้าเซน และสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศ ไทย จึงมีความยินดีที่จะนำเสนอนิทรรศการอันตระการตานี้แด่ชาว กรุงเทพฯ และผู้มาเยือนทั้งหลาย ซึ่งเมื่อได้ชมแล้วจะไม่มีวันลืมเลือน


Earth from Above เป็นนิทรรศการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งสารว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงมิใช่เป็นเพียง การแสดงภาพถ่ายอันสวยงาม หากแต่เป็นการนำเสนอ “ภาพสำรวจสภาวะ” ของโลกเรา อันเป็นสื่อการเรียนรู้ ที่จะช่วยให้เราได้เข้าถึงความเป็นจริงของโลกและร่วมกันอนุรักษ์โลกนี้ไว้ นิทรรศการนี้จะมีภาพถ่ายในมุมมอง ที่แปลกใหม่ให้ชมเพิ่มขึ้น Yann Arthus-Bertrand เชื้อเชิญให้พวกเราร่วมเดินทางไปสัมผัสกับความเป็นจริง ของโลก รูปถ่ายทางอากาศของเขาสะท้อนความหลากหลายของธรรมชาติและสีสันแห่งชีวิต รวมทั้งรอยประทับ ของมนุษย์และการล่วงละเมิดต่อสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปภาพประกอบนิทรรศการ Earth from Above เป็นรูปที่ ถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์ในระดับความสูงระหว่าง 30 เมตร ถึง 3,000 เมตร และใช้ชั่วโมงบินรวมทั้งหมดถึง 4,000 ชั่วโมง


ในฐานะช่างถ่ายภาพที่เน้นความเป็นจริง Yann Arthus-Bertrand ต้องการสื่อกับชาวโลกทั้งหลายและพลเมืองของทุกประเทศ ให้พวกเขา ได้ระลึกถึงวิวัฒนาการของโลกใบนี้ และความเป็นไปของมนุษยชาติ นิทรรศการนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าไม่เคยมียุคใด ที่ระดับรูปแบบการบริโภค การผลิต และการใช้ทรัพยากรของมนุษย์เราจะอยู่ในสภาพ ที่เสี่ยง ต่อความไม่ยั่งยืนเท่ายุคปัจจุบัน เป็นการสะท้อนก้าวที่สำคัญที่มีทางเลือก คือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนซึ่งจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง “ที่จะตอบ สนองความจำเป็นของรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำลายโอกาสของชนรุ่นหลัง ในการสนองความจำเป็นของพวกเขา” การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หรือพันธกิจที่เป็นไป เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น มิได้ขึ้นกับนโยบายของรัฐหรือมหาอำนาจในโลกนี้เพียงฝ่ายเดียว พวกเราต่างคนต่างมีบทบาทเพื่ออนาคตของ โลกร่วมกัน ต่างมีอำนาจและหน้าที่ในการกระทำด้วยตนเอง และผลักดันให้ผู้คนจำนวนมากให้ร่วมกันนำเสนอ การเปลี่ยนแปลงต่อผู้กำหนดนโยบาย
Yann Arthus-Bertrand ถ่ายทอดจิตสำนึกผ่านรูปแบบนิทรรศการนี้เพื่อเตือนสติพวกเรา นิทรรศการ ของเขาเป็นผลแห่งความพากเพียรของการออกสำรวจตั้งแต่ปี 2533 รวมภาพจากร้อยกว่าประเทศที่ได้ไปเยือน เป็นภาพที่คัดสรรจากการถ่ายภาพจำนวนหลายพันรูป เปี่ยมด้วยพลังแห่งอารมณ์และชวนให้ฉุกคิด ผ่านเลนส์ของ Yann Arthus-Bertrand และ ความห่วงใยอนาคตของชนรุ่นหลัง โดยจะมีการปูแผนที่โลกขนาดยักษ์ (จากสถาบันภูมิศาสตร์แห่งประเทศฝรั่งเศส) ไว้บนพื้นบริเวณนิทรรศการ เพื่อช่วยให้ผู้เข้าชมได้ทราบตำแหน่ง ที่มาของภาพถ่าย

ด้วยความตระหนักดีว่าตนมีส่วนสร้างผลกระทบต่อโลก Yann Arthus-Bertrand จึงได้ก่อตั้งสมาคม goodplanet.org โดยเริ่มต้น แก้ไขปัญหาจากตัวเอง และผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน เขาได้จัดตั้งโครงการ actioncarbone.org. เพื่อ รณรงค์ให้แต่ละคน ช่วยกันลดและทดแทนปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ตนเองเป็นผู้ก่อออกมาในขณะประกอบกิจกรรมต่างๆ ด้วยการสนับ สนุนโครงการเพื่อพลังงาน ทดแทนโครงการการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิผล หรือโครงการปลูกป่าทดแทน

31.5.51

Célébration La Journée de l’Europe

Célébration La Journée de l’Europe
Aujourd’hui, les habitants des 25 pays de l’Union européenne fêtent la Journée de l’Europe..
Comme le drapeau bleu aux 12 étoiles jaunes, le 9 mai est l’un des grands symboles de l’Union européenne. Cette date a été choisie en souvenir du 9 mai 1950. Ce jour-là, un homme politique français, Robert Schuman, proposait à plusieurs pays européens d’unir leurs productions d’acier et de charbon. C’est la toute première forme de l’Union européenne. 55 ans plus tard, l’UE compte 25 États et s'apprête à en accueillir deux autres, la Bulgarie et la Roumanie. En France, l’Union semble susciter autant d’espoirs que de craintes, comme le montre la campagne électorale sur le référendum du 29 mai. Appelés à voter pour ou contre la constitution européenne, les Français sont très partagés. Beaucoup ne voient pas vraiment les progrès qu’a permis de réaliser la construction de l’Union européenne. D’autres affirment que l’UE est le seul de conserver notre vie, notre culture et notre puissance commerciale. Ce référendum est un moment très important de la démocratie car il donne l’occasion de discuter et de réfléchir sur la place de l’Europe et des Européens dans le monde.

Lexique [คำศัพท์]


- une célébration = การเฉลิมฉลอง / célébler (v.) = ฉลอง, เฉลิมฉลอง

- un habitant = ประชากร

- un drapeau = ธงชาติ

- une étoile = ดาว, ดวงดาว

- un homme politique = นักการเมือง / un politicien = นักการเมือง

- acier (n.m.) = เหล็กกล้า

- charbon (n.m.) = ถ่าน, ถ่านหิน

- un espoir = ความหวัง / espérer (v.) = หวัง, คาดหวัง

- une crainte = ความกลัว / craindre (v.) = กลัว, เกรงกลัว

- une campagne = การรณรงค์

- un référendum (อ่าน : เร-เฟ-แรง-ดอม) = การลงประชามติ

- une constitution = รัฐธรรมนูญ

- un moyen = วิธีการ

- un mode = รูปแบบ

- la puissance = พลัง, อำนาจ

- la démocratie (อ่าน : เด-โม-ครา-ซี) = ประชาธิปไตย

- une place = สถานะ, (ตำแหน่ง)ที่อยู่

- électoral (adj.) = ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง / élire (v.) = เลือกตั้ง / élection (n.f.) = การเลือตั้ง / électeur (n.m), électrice (n.f.) = ผู้ไปเลือกตั้ง

- unir (v.) = รวมกัน, รวมเข้าด้วยกัน- compter (v.) = นับ, นับจำนวนได้...- s'apprêter à (v.) = พร้อมที่จะ ...- accueillir (v.) = ต้อนรับ, รับเข้ามา ...- sembler (v.) = ดูเหมือนว่า

- susciter (v.) = ก่อให้เกิด, นำมาซึ่ง

- montrer (v.) = แสดงให้เห็น

- voter (v.) = ออกเสียง, ลงคะแนนให้ ... / voter pour (contre) = ออกเสียงสนับสนุน (คัดค้าน)

- être partagé (v.) = (ความคิด) แบ่งแยก, แตกต่าง- permettre (v.) = เอื้อให้ ..., ช่วยให้ ...- réaliser (v.) = ทำให้เป็นจริงขึ้นมา, สร้างขึ้นมา

- affirmer (v.) = บอกว่า, กล่าวว่า ...- conserver (v.) = รักษา, อนุรักษ์

- réfléchir (v.) = พิจารณา, ตรึกตรอง, ใคร่ครวญ



19.5.51

พิพิธภัณฑ์อัลซาส : ศตวรรษแห่งความทรงจำ


ในโอกาสวันครบรอบหนึ่งศตวรรษของพิพิธภัณฑ์อัลซาสซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1907 พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองสตราสบูร์กได้จัดงานเฉลิมฉลองวาระสำคัญครั้งนี้ด้วยนิทรรศการการย้อนห้วงเวลากลับไปสู่อดีตครั้งก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ระหว่างปี 1900 และ 1917 ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงรากเหง้าของชาวเมืองสตราสบูร์กและชาวแคว้นอัลซาส

ฝรั่งเศสดินแดนแห่งเทศกาล

งานฉลองที่มีสีสันและสนุกสนานตั้งแต่เช้ายันค่ำ จะหมุนเวียนจัดกันไปจัดตามเมืองต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส
งานเทศกาลที่จัดกันในปัจจุบันล้วนเป็นมรดกตกทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต หมู่บ้านแต่ละแห่งจะต้องมีงานฉลองของตน และในแต่ละเมืองจะต้องมีเทศกาลของดีของเด่นประจำปีไว้สนุกสนานกัน เช่น งานเดินขบวนคนยักษ์ (คนต่อขา) ของทางตอนเหนือของฝรั่งเศส งานคาร์นิวัลเมืองนีซ (Nice) งาน Ferias เมืองนีมส์ (Nîmes) และเมืองอาร์ล (Arles) งานประจำปีเมืองบายอน (Bayonne) หรือเมืองเบซิเยส์ (Béziers) ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นที่รวมความสนุกสนานของชาวเมืองซึ่งยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นให้มาร่วมความบันเทิงด้วยกัน นอกจากงานเทศกาลต่างๆ ในเขตภูมิภาคแล้ว ฝรั่งเศสยังมีงานสำคัญประจำปีระดับชาติอีก 2 งาน ซึ่งทุกเมืองจะเฉลิมฉลองพร้อมๆ กัน งานแรกคืองานวันชาติ 14 กรกฎาคมซึ่งเป็นวันสำคัญที่เปิดตัวด้วยการสวนสนามของทหารเหล่าต่างๆ และจัดขึ้นอย่างใหญ่โตที่ถนนชองส์-เอลิเซ่ส์ (Champs-Elysées) อันเลื่องชื่อของปารีส พอถึงกลางคืนจะมีการจุดดอกไม้ไฟที่สวยงามตระการตา และมีงานเต้นรำที่สนุกสนานแบบฝรั่งเศสแท้ ส่วนตามเมืองใหญ่ๆ มักจัดการแสดงดนตรีกลางแจ้งให้ชมกันโดยไม่ต้องเสียค่าผ่านประตู งานใหญ่งานที่สองคือ เทศกาลดนตรีซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ 21 มิถุนายน เทศกาลนี้เปิดโอกาสให้คนรักดนตรีทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นได้แสดงความสามารถกันเต็มที่และสุดเหวี่ยงในท้องถนนและทุกหนทุกแห่ง นอกจากนี้ยังมีเทศกาลเพลงคลาสสิค ละคร ละครสัตว์ และอื่นๆ อีกมากมายตลอดทั้งปี เพียงเท่านี้คุณก็คงพอรู้แล้วว่าในฝรั่งเศสความสนุกสนานเพลิดเพลินนั้นไม่มีการเว้นวรรคจริงๆ

8.2.51

La boîte à mots : les comportements

La boîte à mots : les comportements


Lexique :
- dire au revoir à qqn = prendre congé
- saluer qn = ทักทายใคร / une salutation = การทักทาย
- s'embrasser = สวมกอดกัน, หอมแก้มกัน, จูบกัน / embrasser qn = หอมแก้มใคร : Ma mère m'embrasse tous les jours avant d'aller à l'école. / une bise, un bisou = การหอมแก้ม
- faire la tête [= bouder] = ทำหน้าบึ้งใส่, หน้างอ
- se disputer qvec qqn = ทะเลาะกับใคร / une dispute = การทะเลาะกัน
- se battre = ต่อสู้กัน

Dans La Salle De Bains

Dans La Salle De Bains


une douche อืน ดูช(เชอ) ฝักบัว
une baignoire อืน เบน-ยัว(เรอ) อ่างอาบนํ้า
un bidet เอิง บิ-เด อ่างฉี่
une serviette de bain อืน แซร์-เวิ๊ยต เดอ แบง ผ้าเช็ดตัว
un savon เอิง ซา-วง สบู่
un lavabo เอิง ลา-วา-โบ อ่างล้างหน้า
un miroir / une glace เอิง มิ-รัว / อืน กล๊าซ(เซอ) กระจกเงา

27.1.51

Suède - Stockholm l'hiver

Stockholm en hiver



Quand vient l'hiver, la magie de la neige et de la glace opère... La ville se transforme, semble parfois figée par le froid... Après l'automne souvent très sombre, la lumière, accentuée par la neige s'intensifie progressivement, réchauffant lentement cet univers de glace.En général, le froid n'est jamais très intense à Stockholm. Les températures descendent peu souvent en dessous de -20 degrés. La neige tombe rarement en grosses quantités. La mer Baltique et les très nombreux lacs gèlent et il devient alors possible (en général à partir du mois de janvier) de se promener sur la glace en plein cœur de Stockholm! Les Suédois pratiquent beaucoup le patin à glace de randonnée. Les patins utilisés sont plus longs que des patins classiques, permettant une glisse plus rapide et un confort accru. La région de Stockholm est l'un des endroits au monde le plus réputé pour ce genre de sport. Des pistes sont tracées sur certains lacs, permettant ainsi de patiner même lorsque la couche de neige est trop épaisse. Une course entre Stockholm et Uppsala a lieu tous les ans en février ou en mars. La distance à parcourir est de 90 km!... Avis aux amateurs!

10.1.51

วันครู ประวัติวันครู ความเป็นมาวันครู ความหมายวันครู

ความหมาย

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้